สำหรับมือใหม่หัดลงทุนในกองทุนรวม ลองมาดู 5 Step ง่ายๆ ที่ช่วยให้เราออกสตาร์ทเส้นทางลงทุนกองทุนรวมได้อย่างมั่นใจ เริ่มจาก…
สำหรับมือใหม่หัดลงทุนในกองทุนรวม ลองมาดู 5 Step ง่ายๆ ที่ช่วยให้เราออกสตาร์ทเส้นทางลงทุนกองทุนรวมได้อย่างมั่นใจ เริ่มจาก…
1. ทำความรู้จักตนเอง
โดยการตอบคำถามง่ายๆ ว่าจะลงทุนไปเพื่ออะไร ต้องการผลตอบแทนเท่าไหร่ รับความเสี่ยงได้มากน้อย เพียงใด ต้องการลงทุนนานแค่ไหน
และมีเงินลงทุนเท่าใด เพราะยิ่งเรารู้จักตนเองมากเพียงใด ก็จะยิ่งเลือก กองทุนรวมที่เหมาะกับตนเองได้มากขึ้นเท่านั้น
2. วิเคราะห์ภาพรวมการลงทุนในขณะนั้น
ว่าบรรยากาศและทิศทางของเศรษฐกิจเหมาะที่จะลงทุนหรือไม่ และมีผลกระทบต่อการลงทุนประเภทต่างๆ อย่างไร นั่นเพราะกองทุนรวมที่เรา
เลือกอาจไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในทุกภาวะเศรษฐกิจ หากเราเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจได้
เบื้องต้น ก็จะช่วยให้เราเลือก กองทุนรวมที่เหมาะกับสภาวการณ์นั้นๆ ได้
3. เลือกกองทุนรวมที่ใช่
โดยศึกษาข้อมูลของกองทุนรวมที่สนใจลงทุนอย่างละเอียดจากหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน (Prospectus) และ Fund Fact Sheet
เพื่อเปรียบเทียบจุดเด่น จุดด้อย และตัดสินใจเลือกกองทุนรวม ที่เหมาะกับตัวเรา ซึ่งข้อมูลที่ควรให้ความสำคัญมีดังนี้
4. ติดต่อเปิดบัญชีและซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ในการซื้อครั้งแรกต้องมีการกรอกคำขอเปิดบัญชีกองทุนรวมและคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนที่ บลจ. แต่ละแห่ง หรือตัวแทนขายของ บลจ. ซึ่งหลังจากชำระเงินเรียบร้อยแล้ว บลจ. จะออกหลักฐานยืนยันการลงทุนให้ แต่ในครั้งถัดไป หากจะซื้อเพิ่มหรือขายคืนกองทุนเดิม อาจมีบริการที่อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น เช่น การซื้อขายหน่วยลงทุนผ่านทางอินเตอร์เน็ต ตู้เอทีเอ็ม และโทรศัพท์เคลื่อนที่
5. ติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ลงทุนไว้อย่างสม่ำเสมอ
เพื่อจะได้ไม่เสียโอกาสในการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติม หรือขายคืนหน่วยลงทุน ซึ่งสามารถติดตาม NAV ได้จากหลายช่องทาง ทั้งเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น หรือรายงานผลการดำเนินงานที่ บลจ. ส่งให้กับผู้ลงทุน
แหล่งที่มา https://www.set.or.th/set/education/html.do?name=mutualfund&showTitle=F
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ธนาคารออมสินทุกสาขา
หมายเหตุ :
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของแต่ละกองทุน และข้อมูลอื่นๆ ในเว็บไซต์
การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้ และอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน