วางใจให้ออมสิน

ดูแลความสุขของชีวิตคุณ

banner banner
หน้าหลัก > , , , , , > 4 สเต็ปวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แค่รู้เทคนิคดี ๆ ก็จ่ายภาษีน้อยลง

4 สเต็ปวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แค่รู้เทคนิคดี ๆ ก็จ่ายภาษีน้อยลง

9 ก.พ. 2564
Shutterstock 479600038 [converted]

เริ่มต้นวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ดีก็ช่วยประหยัดภาษีได้ แถมยังไม่ต้องกลัวว่าจะลืมจ่ายอีกต่อไป เพราะเดี๋ยวนี้มีทางเลือกให้ชำระภาษีได้สะดวกกว่าเดิม

ทุกวันนี้เราเกี่ยวข้องกับภาษีหลายประเภท อย่าง “ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)” ที่จ่ายรวมไปกับการซื้อสินค้าและบริการ“ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” ที่ถูกหักอัตโนมัติเมื่อได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก และสำหรับผู้มีรายได้ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน หรือฟรีแลนซ์ จะต้องยื่น “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ทุกปี ซึ่งจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีจะขึ้นอยู่กับรายได้ของตัวเอง ยิ่งมีรายได้มากเท่าไรก็ต้องจ่ายมากขึ้น แต่ถ้ารู้จักวางแผนภาษีสักหน่อยจะช่วยประหยัดได้มาก รวมทั้งสามารถบริหารจัดการตัวเองให้ชำระภาษีได้ตรงเวลาอีกด้วย

  แล้วจะเริ่มต้นอย่างไรดี ตามมาอ่านวิธีวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไปพร้อม ๆ กันเลย 

Shutterstock 1823569421 [converted]สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ ประมาณตัวเลขคร่าว ๆ ดูก่อนว่าในปีนี้เรามีรายได้ หรือที่เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” เท่าไร เป็นเงินได้ประเภทไหนบ้าง เช่น เงินเดือน ค่านายหน้า เบี้ยประชุม ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ เนื่องจากเงินได้แต่ละประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 คือ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส และประเภทที่ 2 เช่น ค่านายหน้า เบี้ยประชุม ตรงนี้จะหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท นอกจากนี้ยังหักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้อีกคนละ 60,000 บาท เมื่อรวมรายได้ทั้งหมด พร้อมกับหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนส่วนตัวแล้ว จะเหลือเป็น “เงินได้สุทธิ” ซึ่งเงินได้สุทธิที่ไม่เกิน 310,000 บาท (เฉลี่ยมีรายได้ไม่เกิน 25,833 บาท/เดือน) จะไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าสูงกว่า 310,000 บาท/ปี หรือคนที่มีเงินเดือน 25,833 บาทขึ้นไป หากไม่มีตัวช่วยประหยัดภาษีอื่น ๆ จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราขั้นบันได ดังนี้

30d9b102 A3b2 4141 B52d 2f905f2fbc48

  หรือเทียบดูง่าย ๆ จากจำนวนเงินเดือนที่เราได้รับในแต่ละปี

ว่าต้องเสียภาษีประมาณเท่าไร

590cc2b3 9848 4231 9b62 50581cd5c4b7

Shutterstock 1823569421 [converted]2

เมื่อคำนวณดูแล้วเห็นว่าต้องจ่ายภาษีจำนวนไม่น้อย เราสามารถลดภาระตรงนี้ได้ด้วยการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีนอกเหนือจากค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท ซึ่งมีให้เลือกอยู่หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น

● กรณีมีคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้แต่เลือกนำมาคำนวณภาษีพร้อมกัน : สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท

● กรณีมีบุตร : สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท/บุตร 1 คน โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร (ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร)

 กรณีอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา หรือบิดา-มารดาของคู่สมรส : สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท/คน สูงสุด 4 คน รวม 120,000 บาท (ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร)

● ประกันสังคม : หักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง โดยในปี 2563 ลดหย่อนได้ไม่เกิน 5,850 บาท เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมลดจำนวนการเก็บเงินสมทบ

 ประกันชีวิต : ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

● ประกันสุขภาพ : ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท

● กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) : ลงทุนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

● กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) : หักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

● ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย : ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

● เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา, สถานพยาบาลของรัฐ, การกีฬา : หักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง

● เงินบริจาคเพื่อการกุศลอื่น ๆ : ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง

● มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามโครงการช้อปดีมีคืน : นำค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท โดยต้องซื้อสินค้า ใช้บริการ และชำระเงิน ระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563 เท่านั้น

การใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจะช่วยให้จ่ายภาษีน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น กรณีที่เรามีรายได้ปีละ 480,000 บาท จะเสียภาษี 9,500 บาท แต่ถ้าเรามีค่าลดหย่อน คือ มีคู่สมรสที่ไม่มีรายได้, จ่ายเบี้ยประกันชีวิต 50,000 บาท, จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ 15,000 บาท, ลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 35,000 บาท และใช้สิทธิ์ช้อปดีมีคืน 10,000 บาท จะสามารถหักลดหย่อนได้ 170,000 บาท ดังนั้นจึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2563

Shutterstock 1823569421 [converted]3

สำหรับสามี-ภรรยาที่มีรายได้ในปีนั้นทั้งคู่ ต้องพิจารณาว่าควรยื่นภาษีแบบไหนถึงจะช่วยประหยัดภาษีได้มากกว่า 
3.1 แยกยื่นภาษี

          คู่สมรสที่มีฐานภาษีเดียวกันควรใช้วิธีต่างคนต่างยื่นภาษี เพราะการรวมยื่นภาษีจะทำให้รายได้สุทธิเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้เสียภาษีเพิ่มไปอีกขั้น เช่น สามีมีรายได้สุทธิ 300,000 บาท ภรรยามีรายได้สุทธิ 250,000 บาท ทั้งคู่อยู่ในฐานภาษี 5% เมื่อแยกยื่นภาษี ฝ่ายสามีจะจ่ายภาษี 7,500 บาท ฝ่ายภรรยาจ่ายภาษี 5,000 บาท รวมเสียภาษี 12,500 บาท ขณะที่การนำรายได้มารวมกัน จะใช้สิทธิ์ยกเว้นเงินได้ 150,000 บาทแรกได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ส่งผลให้เงินได้สุทธิรวม 2 คนเพิ่มขึ้น อยู่ในฐานภาษีที่สูงกว่า 5% จึงต้องจ่ายภาษีมากกว่า

3.2 ยื่นรวมภาษี

          เหมาะกับคู่สมรสที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีฐานภาษีต่ำ แต่มีค่าลดหย่อนสูงกว่ารายได้ของตัวเอง ดังนั้น เมื่อนำรายได้ทั้ง 2 คนมารวมกันจะใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้เต็มที่ เช่น สามีมีรายได้ 500,000 บาท มีค่าลดหย่อน 50,000 บาท ขณะที่ภรรยามีรายได้ 100,000 บาท มีค่าลดหย่อน 180,000 บาท หากรวมกันยื่นภาษี สามีจะมีค่าลดหย่อนเพิ่มขึ้น และเสียภาษีน้อยลง

3.3 แยกยื่นภาษีเฉพาะเงินเดือน
          หากคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินได้ประเภทเงินเดือนสูงมาก และมีเงินได้ประเภทอื่น ๆ เช่น เงินปันผลหุ้น กองทุนรวม ค่าเช่า ค่าลิขสิทธิ์ ร่วมด้วย ฝ่ายที่มีเงินเดือนสูงควรแยกยื่นภาษีเฉพาะเงินได้ประเภทเงินเดือนของตัวเอง ส่วนเงินได้ประเภทอื่น ๆ ให้นำไปยื่นรวมกับคู่สมรสที่มีรายได้ไม่สูงมาก เพื่อให้ฐานภาษีของตัวเองลดลง

Shutterstock 1823569421 [converted]4

จะยื่นภาษีผ่านช่องทางใดก็ควรวางแผนด้วยเช่นกัน โดยปัจจุบันสามารถยื่นภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต และขอรับเงินคืนภาษีผ่านระบบพร้อมเพย์ได้ ช่วยประหยัดเวลาและยังได้เงินคืนภาษีเร็วขึ้น ส่วนใครต้องชำระภาษีเพิ่มเติมตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป กรมสรรพากรก็ให้ผ่อนชำระภาษีได้ 3 งวด โดยไม่มีดอกเบี้ย แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ควรชำระภาษีภายในกำหนดเวลา เพราะถ้าชำระล่าช้า หรือลืมจ่ายงวดใดงวดหนึ่ง จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาอาจมีหลายคนไม่สะดวกไปชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากร ทำให้ลืมจ่ายภาษีจนถูกปรับ แต่ปัญหาความยุ่งยากเหล่านี้จะหมดไป แค่เลือกจ่ายภาษีผ่านธนาคารออมสิน ซึ่งชำระได้หลายช่องทาง ทั้งที่ธนาคารออมสินสาขา, เครื่อง ATM , บริการ GSB Internet Banking หรือง่ายไปกว่านั้นก็คือ จ่ายภาษีผ่าน Bill Payment ในแอปพลิเคชัน MyMo ได้เลย 

526719c1 614e 4aa8 B05f 30cc1b2cb2a1

และนอกจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ธนาคารออมสินยังมีบริการรับชำระภาษีอีกหลายประเภท ได้แก่
● กรมสรรพากร : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีธุรกิจเฉพาะ
● กรมสรรพสามิต : เช่น ภาษีน้ำมัน, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องสำอาง, เครื่องดื่ม, รถยนต์, แบตเตอรี่, บริการไนต์คลับและดิสโก้เธค ฯลฯ​​​​​​​

ถือเป็นอีกหนึ่งบริการที่ธนาคารออมสินอำนวยความสะดวกให้เราชำระภาษีประเภทต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ gsb.or.th หรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการชำระภาษีผ่านธนาคารออมสิน สอบถามได้ที่ GSB Contact Center 1115 

—————————————————————–

Skip to content