ยิ่งลดมาก ยิ่งดึงดูดเราให้เข้าไปหามาก ไม่เชื่อลองนึกดูสิว่าคุณวิ่งเข้าใส่ป้ายลดราคาพวกนี้ไปกี่ครั้งแล้ว ซื้อไปก่อน ใส่ไม่ใส่ค่อยว่ากัน หรือเดี๋ยวค่อยคิดว่าจะใส่ไปงานไหน เพราะมันถูก ก็ต้องซื้อสิ! จำไว้ว่า “ลดราคา ไม่ได้หมายถึง ราคาถูก” เสมอไป
เคยได้ยินมั้ยว่า “ของแบบนี้มันอยู่ที่ไม้แขวนเสื้อ” แม้เราจะเห็นว่าเสื้อตัวนี้สวยบนหุ่นดิสเพลย์ของร้าน แต่!…ใช่ว่าเราจะมีสรีระเหมือนหุ่นนางนั้นซะที่ไหน ยิ่งมีป้ายลดราคาบวกเข้ามาอีก ไม่ต้องลองกันเลยละทีนี้ คว้าหมับแล้วจ่ายตังค์ พอกลับมาบ้านลองใส่แล้วพบว่า “พลาด”… เป็นบ่อยใช่มั้ยล่ะ
อันตรายมากทีเดียวสำหรับโปรฯ นี้ แม้จะมีป้ายบอกว่าผ่อน 0% ก็ตาม ลองคิดดูสิว่าถ้าเรารูดทุกร้านที่มีโปรโมชั่นผ่อนจ่าย ยอดรวมกันจะเท่าไหร่! ดังนั้นทางที่ดีควรเก็บบัตรเครดิตไว้ที่บ้าน แล้วช็อปเท่าที่เงินสดในกระเป๋ามีจะดีกว่า
สาวๆ หลายคนเจอฤทธิ์ “อุปทานหมู่” เข้าไปถึงกับไร้สติไปชั่วขณะเลยก็มี ลักษณะอาการคือเป็นต้องวิ่งเข้าใส่เวลาเห็นคนเยอะๆ หิ้วถุงออกมาแบบตั้งใจบ้าง ไม่ได้ตั้งใจบ้าง ถ้าตั้งสติไม่ดี หรือไม่ยั้งคิดก็ล้มละลายได้เหมือนกัน
คำนี้ช่วยสร้างความตื่นตระหนกและแทบจะไม่ให้มีเวลาได้คิดไตร่ตรองก่อนซื้อเลยด้วยซ้ำ บางคนเผลอไผลไปกับกลยุทธ์นี้จนต้องซื้อวันนี้ให้ได้ เพราะไม่รู้ว่ากลับมาอีกทีวันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ จะยังมีของที่อยากได้อยู่หรือเปล่า ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นกลยุทธ์แต่ก็หักห้ามใจไม่ได้อยู่ดี
จะช่วยควบคุมคุณให้ซื้อในสิ่งที่ควรซื้อเท่านั้น
กรณีนี้ยกเว้นสำหรับผู้ที่มีวินัยทางการ และคำนวณแล้วว่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตนั้นประหยัดกว่าการจ่ายด้วยเงินสด ยิ่งเดี๋ยวนี้บัตรเครดิตหลากหลายที่ก็เริ่มทำโปรโมชั่นร่วมกับร้านค้าต่างๆ เยอะขึ้น และสะดวกในการใช้จ่ายมากขึ้นด้วย (บัตรออมสินวีซ่า เดบิต สมาร์ทไลฟ์ เข้าถึงทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต)
เลิกพฤติกรรมซื้อของเกินจำเป็น ที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น ลดราคา ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง เป็นรุ่นลิมิเต็ดเอดิชั่น เป็นต้น
เพราะกว่าจะรู้ตัวอีกที เดือนนั้นคุณคงล้มละลายไปแล้ว ดีไม่ดีลากยาวไปถึงเดือนหน้าเลยก็ได้
เพราะการที่คุณไปช็อปทุกวันที่มีช่วงเวลากระหน่ำลดราคา จะยิ่งทำให้ถอนตัวจากป้ายเซลล์ ได้ยากมากขึ้น
เพื่อสำรวจดูว่าเสื้อผ้าที่มีอยู่นั้นเยอะแค่ไหน บางคนอาจจะลืมเสื้อผ้าบางชุดไปแล้วว่ายังไม่เคยหยิบออกมาใส่เลย หรืออาจจะเอาตัวนั้นมาแมตช์กับตัวนี้ใหม่ได้ โดยที่ไม่ต้องซื้อใหม่ให้เปลืองเงิน หรือไม่อย่างนั้นอาจจะนำเสื้อผ้าเหล่านั้นไปบริจาค หรือนำไปขายต่อเป็นเสื้อผ้ามือสองก็ได้
“ลด” การซื้อลง เช่น ตั้งเป้าไว้ว่าเดือนนี้ซื้อเสื้อผ้าได้แค่ 1,000 บาท เท่านั้น จากนั้นค่อยๆ “ละ” เพราะสินค้าบางอย่างเราซื้อมาทั้งที่ยังไม่รู้ว่าจะใช้งานมันหรือเปล่า ฉะนั้นอะไรที่คิดว่าจะไม่ได้ใช้มันก็อย่าซื้อ “เลิก” ไปห้างช่วงที่มีการจัดโปรโมชั่นกระหน่ำลดราคา และเลิกเข้าห้างถ้ายังไม่มีความจำเป็นต้องซื้อของ
————————–