แม้ไม่ใช่คนคอแข็งแต่บรรยากาศครื้นเครงในงานเลี้ยงก็ทำให้ใครหลายคนดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากกว่าปกติได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเพราะสนุกสนานไปกับคนหมู่มาก ผ่อนคลายความเคร่งเครียดจากการทำงาน หรือ กำลังเฉลิมฉลองกับช่วงเวลาแสนสุข แต่การดื่มหนักจนเกินไปในทุกปาร์ตี้ก็ไม่ใช่เรื่องดี เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว จะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังดื่มหนักเกินไปหรือเปล่าและควรดูแลสุขภาพอย่างไร
ดื่มหนักเกินไปหรือเปล่า รู้ได้อย่างไร
ต่อให้เป็นน้ำเปล่าที่ดีต่อสุขภาพเองก็ตาม แต่หากดื่มมากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน การดื่มแอลกอฮอล์หนักมากเกินไป ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานช้าลง ยิ่งดื่มมากยิ่งทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการป่วยได้ง่ายขึ้น ทั้งยังทำให้ระบบย่อยอาหารดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดีเท่าที่ควร ใครที่เป็นสายปาร์ตี้ผู้รักการสังสรรค์เป็นประจำอาจต้องหันมาใส่ใจกับนิสัยและจำนวนการดื่มในแต่ละครั้ง เพื่อระวังไม่ให้ตัวเองดื่มมากเกินไป โดยจะรู้ได้ว่าเราเป็นคนดื่มหนักเกินไปหรือไม่ สังเกตได้จาก
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่า 4-5 แก้วในระยะ 2 ชั่วโมง
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ติดต่อกันเกินกว่า 5 วัน
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่า 7-14 แก้วใน 1 สัปดาห์
เหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึง Binge Drinking หรือ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งเหตุผลที่หลายคนแน่นอนว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นครั้งคราวหรือนานๆ ครั้งไม่ใช่เรื่องผิดเพียงแต่ว่าสิ่งที่ควรระวังคือการไม่ให้ตัวเองดื่มมากจนเกินไปนั่นเอง
ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ร่างกายเสี่ยงอะไรบ้าง
ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปส่งผลโดยตรงกับระดับความดันโลหิตของร่างกายที่พุ่งสูงกว่าปกติ ตับยังต้องทำงานอย่างหนักเพื่อขับแอลกอฮอล์ออกจากเลือด ร้ายแรงที่สุด หากขับออกไม่ทันอาจทำให้เสี่ยงต่อภาวะสุราเป็นพิษ (Alcohol Poisoning) จนเสียชีวิตได้ โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อดื่มจนเมาหัวราน้ำคนส่วนใหญ่จะมีระดับสติสัปปชัญญะที่ลดลง ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างถี่ถ้วนและรอบคอบ รวมทั้งมีความระมัดระวังที่ลดน้อยลงจนอาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ขับขี่ยานพาหนะ และ อายุน้อยกว่า 20 ปีจึงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ด้วยประการทั้งปวง
เพื่อความอุ่นใจจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน การทำประกันจึงเป็นตัวเลือกที่ดีของคนรักการปาร์ตี้สังสรรค์ เช่น ประกันสุขภาพ GSB ออมสินสุดคุ้ม ที่คุ้มครองรอบด้านไม่ว่าจะ การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก ไปจนถึงค่าห้องผู้ป่วยหนักและค่ารักษาพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉิน เพื่อเป็นเบาะรองรับสถานการณ์ไม่คาดคิด
ไม่อยากเมาค้างข้ามวัน คนดื่มหนักควรดูแลสุขภาพอย่างไร
แม้คืนปาร์ตี้จะสนุกสนานขนาดไหน แต่หากดื่มหนักไปเมื่อตื่นขึ้นอีกวันก็อาจพานพบกับอาการเมาค้างจนรบกวนการใช้ชีวิตตามปกติได้ ไม่ว่าจะอาการคลื่นไส้อาเจียน รู้สึกเหนื่อยล้าบ้านหมุน ปวดหัวเวียนหัวรวมหรือมึนงง ไวต่อเสียงและแสง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสูญเสียน้ำในร่างกาย ความแปรปรวนของกระเพาะอาหาร อาการเมาค้างสามารถสร้างอันตรายต่อร่างกายได้ถ้าหากต้องขับขี่ยานพาหนะหรือใช้เครื่องมือไม้เครื่องมือ ซึ่งทางที่ดีที่สุดถ้าไม่อยากเมาค้างข้ามวันคือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป แต่ถ้าหากเมาค้างไปแล้วสิ่งที่ควรทำเพื่อรับมืออาการต่างๆ คือการดื่มน้ำเพื่อชดเชยส่วนที่ร่างกายสูญเสียไป ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพิ่ม เช่นเดียวกัน การกินซุปใสร้อนๆ กับขนมปังหรือบิสกิตจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลและโพแทสเซียมในร่างกายให้กลับมาคงที่ ทางที่ดีควรนอกพักต่อเพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาพักผ่อนและฟื้นตัว
หากมีปาร์ตี้กินดื่มครั้งต่อไป การดูแลตัวเองด้วยวิธีต่อไปนี้ จะช่วยให้ร่างกายไม่ทรมานกับมากเกินไปนัก โดยการ
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ตอนท้องว่าง ควรกินอาหารให้อิ่มเสียหน่อยก่อนจะรับแอลกอฮอล์เข้าร่างกาย
- ดื่มน้ำเปล่าไปด้วย อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ
- อย่าดื่มเร็วเกินไปเพื่อให้ร่างกายรับได้ทัน ตับของคนเรารับมือแอลกอฮอล์ได้ชั่วโมงละ 30 มิลลิลิตรเท่านั้น
- อย่าผสมแอลกอฮอฮ์กับสิ่งอื่นๆ เช่น คาเฟอีน เพราแม้จะรู้สึกว่าร่างกายตื่นตัวแต่สติสัมปชัญญะยังไม่มาครบร้อย สมองยังไตร่ตรองไม่ได้เต็มที่ดีพอ
- เมาไม่ขับ