- บุคคลธรรมดาอายุ 20 ปีขึ้นไป สัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยไม่พิจารณาสัดส่วนการถือหุ้น
- กรณีลูกค้าเดิม เป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่มีวงเงินรวมสินเชื่อธุรกิจเดิมไม่เกิน 500 ล้านบาท กับธนาคารออมสิน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และมีสถานะผ่อนชำระปกติ หรือค้างชำระไม่เกิน 90 วัน (ยังไม่เป็น NPLs) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ทั้งนี้ วงเงินรวมของสินเชื่อธุรกิจ รวมสินเชื่อเช่าซื้อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ สินเชื่อธุรกิจห้องแถว และสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน แต่ไม่นับรวมวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งได้แก่ วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ วงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และวงเงินสินเชื่อเช่าซื้อที่มีวัตถุประสงค์ไม่ได้นำไปใช้สำหรับธุรกิจ หรือ
- กรณีลูกค้าใหม่ เป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารออมสิน และสถาบันการเงินอื่น ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 (ไม่รวมถึงวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค)
- ไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เว้นแต่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)
- ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
- ต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ตามที่พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 กำหนดทุกประเภทธุรกิจ เช่น ธุรกิจการผลิต ธุรกิจการบริการ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจค้าส่ง ฯลฯ และรวมถึงธุรกิจอื่น ๆ
- ไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ (Refinance)
เพื่อการลงทุน หรือการปรับปรุง หรือการพัฒนา ในเรื่องของเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นการเสริมศักยภาพธุรกิจให้สามารถแข่งขันและดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยสอดรับกับบริบทโลกใหม่ (new normal) ดังนี้
- กระแสดิจิทัลเทคโนโลยี เช่น การติดตั้งระบบซื้อขายผ่าน online marketing หรือ การติดตั้งระบบเส้นทางและ QR code ในการคัดแยกพัสดุหรือขนส่ง (smart logistic) ฯลฯ
- การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (solar cell) หรือ การติดตั้งระบบการจัดการขยะ ฯลฯ
- นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต เช่น การทำ smart farming หรือ การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชแทนเนื้อสัตว์ (plant-based food) ฯลฯ
- เงินกู้ระยะยาว (L/T)
- ไม่เกิน 150 ล้านบาท นับรวมวงเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับสินเชื่อตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 “โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อเดิม ไม่เกิน 500 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อ “โครงการสินเชื่อ Soft Loan ธปท. เพื่อฟื้นฟูกิจการ” (กรณีลูกค้าใหม่นับรวมทุกสถาบันการเงิน)
- ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี โดยให้ปลอดชำระหนี้เงินต้นไม่เกิน 24 เดือน
ปีที่ | อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ | อัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดไม่ชำระหนี้ |
1-2 | ร้อยละ 2.00 ต่อปี โดยรัฐบาลจะชำระดอกเบี้ย 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับสินเชื่องวดแรกของการยื่นขอกู้ยืมเงินจาก ธปท. แต่ละครั้ง | ยกเว้นให้ |
3 | ร้อยละ 6.50 ต่อปี | |
4 | ร้อยละ 7.00 ต่อปี | |
5 | ร้อยละ 7.50 ต่อปี | |
6-10 | MLR + ร้อยละ 2 ต่อปี | อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ + ร้อยละ 3 ต่อปี |
ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีแรก คิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ซึ่งไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี
ให้ใช้อย่างใด อย่างหนึ่ง ดังนี้
- บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันเต็มวงเงินกู้
- หลักประกันประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือหลายประเภทร่วมกัน เป็นหลักประกันเต็มวงเงินกู้ โดยใช้เกณฑ์พิจารณามูลค่าหลักประกันเช่นเดียวกับสินเชื่อธุรกิจและ SMEs ดังนี้
(1) สมุดฝากเงิน/สลากออมสิน พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 95 ของมูลค่าหลักประกัน
(2) ที่ดินและอาคาร ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหลักทรัพย์
(3) ที่ดินเปล่า ที่เป็นโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 ก. หรือห้องชุดให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินหลักทรัพย์
(4) หลักทรัพย์ที่สามารถจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจได้ หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่ธนาคารกำหนด
- ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดสรรวงเงิน Soft loan อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี ให้ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ วงเงินรวม 250,000 ล้านบาท เป็นเวลา 5 ปี (นับรวมวงเงินโครงการดังกล่าว กับโครงการสินเชื่อ Soft Loan ธปท. เพื่อฟื้นฟูกิจการ)