1. สำรวจหนี้สินที่มี
อันดับแรกต้องเริ่มจากสำรวจหนี้สินทั้งหมดที่มีก่อน โดยแจกแจงหนี้ทั้งหมดที่มีออกมาพร้อมรายละเอียดการชำระด้วย จะได้เห็นกันเลยว่า เราเป็นหนี้อยู่ทั้งหมดเท่าไหร่ มีเจ้าหนี้อยู่กี่ราย และต้องชำระอะไรก่อนหลัง รวมถึงอ่านรายละเอียดในข้อตกลงให้เข้าใจ ยิ่งในส่วนของกรณีเกิดผิดนัดชำระจะต้องมีค่าปรับหรือเงื่อนไขเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้นำข้อมูลเหล่านี้มาช่วยบริหารจัดการหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยแพงสุดก่อน
เมื่อเรารู้แล้วว่าตอนนี้เรามีรายการหนี้อยู่กี่อัน ราคาเท่าไหร่ และกำหนดชำระเมื่อไหร่ ให้ไล่เรียงชำระจากหนี้ที่มีดอกเบี้ยแพงที่สุดก่อนเพราะหากไม่ทยอยชำระจากหนี้ก้อนนี้ก่อน เมื่อเวลาผ่านไป ดอกเบี้ยก็จะยิ่งเพิ่มพูนขึ้นไปอีก และการจะเคลียร์หนี้สินให้หมดก็จะยิ่งเป็นเรื่องยากแต่หากหนี้แต่ละก้อนมีดอกเบี้ยในอัตราที่เท่า ๆ กัน ให้เลือกชำระหนี้ก้อนที่มียอดเงินน้อย ๆ ก่อนเพื่อลดจำนวนเจ้าหนี้ลง
3. สำรวจพฤติกรรมของตนเอง ลดค่าใช้จ่ายส่วนเกิน
นอกจากสำรวจหนี้สินของตัวเองแล้ว ให้สำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเองด้วย เพราะถึงแม้จะรู้ว่า เป็นหนี้อยู่เท่าไหร่ แต่ถ้ายังใช้จ่ายเท่าเดิม แทนที่จะใช้หนี้เก่าหมด กลับจะมีหนี้ใหม่เพิ่มเข้ามาอีก ดังนั้น ลดรายจ่ายส่วนเกินที่ไม่จำเป็นออกไป ทั้งนี้ แนะนำให้แบ่งสัดส่วนรายได้ออกเป็น 3 ส่วน คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดังนี้
4. หารายได้ทางอื่นเพิ่มเติม