สมองดีเป็นอย่างไร ใช่การคิดเลขไวหรือเปล่า ? เชื่อว่าในทุกช่วงวัยย่อมพบเจอกับความท้าทายที่แตกต่างกันออกไป ความหมายของสมองดีจึงหมายถึงสถานะการทำงานของสมองที่สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจ มีสัมผัสรับรู้และสามารถควบคุมการทำงานของพฤติกรรมและการเคลื่อนไหวเพื่อให้มนุษย์ใช้ชีวิตได้อย่างสมบูรณ์และเต็มศักยภาพ การบำรุงสมองให้มีสุขภาพดีจึงเป็นการรักษาประสิทธิภาพการทำงานของสมองให้อยู่ด้วยกันนานๆ
สมองคนเราเปลี่ยนไปอย่างไรในแต่ละช่วงวัย
เฉกเช่นอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย สมองก็ย่อมมีการเจริญเติบโตขึ้นและเสื่อมถอยลงไปตามวัย การทำความเข้าใจกับศักยภาพของสมองที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัยจะช่วยให้คนเราสามารถเรียนรู้วิถีทางพัฒนาสมองให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เกิดความเห็นอกเห็นใจต่อตัวเองและคนรอบข้างเมื่อรับรู้ถึงความหลากหลายของแต่ละวัย
Neuroplasticity การสร้างเซลล์สมองที่เกิดขึ้นตลอดอายุขัย
เป็นการเติบโตของสมองที่สามารถเปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้เพื่อเพิ่มเครือข่ายสื่อประสาท ทำให้มนุษย์เราสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้อยู่เสมอ และเสริมสร้างศักยภาพสมองให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสมรรถภาพทางสมองนี้จะเติบโตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในช่วงวัย 3 ขวบ แม้ว่าสมองจะพัฒนาตัวเองไปจนตลอดอายุขัย แต่เมื่อย่างเข้าสู่วัยกลางคน การเติบโตนี้ของสมองจะค่อยๆ ชะลอความเร็วลง เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมในวัยเด็กเราจึงสามารถจดจำและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่วมากกว่า
Pruning การตัดแต่งของเซลล์สมองที่เกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กถึงวัยผู้ใหญ่
เป็นการเติบโตของสมองที่คอย ‘ตัดแต่ง’ สื่อประสาทบางส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป เพราะในช่วง 3 ปีแรกของชีวิตสมองจะผ่านการเรียนรู้และสร้างสื่อประสาทอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อพ้นวัยนี้ไปสมองจะเติบโตพอที่จะเลือกลบประสบการณ์ที่ไม่ถูกกระตุ้นซ้ำหรือสื่อประสาทส่วนเกินออกเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้ประสบการณ์ใหม่ๆ และจะเกิดกระบวนการนี้ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงวัยวัยรุ่น
Neuronal loss การสูญเสียเซลล์สมองที่เกิดขึ้นในวัยกลางคนถึงวัยชรา
การเสื่อมถอยของสมองที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่มแก่ตัวลง ความแข็งแรงของสื่อประสาทก็ย่อมเสื่อมการทำงานลงตามกลไกธรรมชาติ โดยเฉพาะในวัยชราที่สมองจะลดทอนประสิทธิภาพการทำงานลง ทั้งนี้การสูญเสียเซลล์สมองอาจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยกลางคน และเมื่อเกิดขึ้นและจะมีผลทำให้การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ช้า ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้นาน ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้ลำบากมากขึ้น รวมทั้งยังมีผลต่อความสามารถในการสัมผัสรับรู้หรือการเคลื่อนไหวร่างกายเช่นกัน
สุขภาพสมองสำคัญแค่ไหน
1 ใน 3 ของประชากรทั่วโลกจะประสบกับอาการผิดปกติทางระบบประสาทในช่วงวัยหนึ่งของชีวิต ความผิดปกติทางระบบประสาทนี้ยังเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (Disability-Adjusted Life Years) คิดเป็นจำนวน 16.5% ของประชากรโลกทั้งยังเพิ่มจำนวนขึ้นในทุกๆ ปีซึ่งกว่า 70% ของผู้ป่วยทางระบบประสาทเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นในทุกปีนี้เองจึงเป็นเหตุผลให้เราต้องใส่ใจในสุขภาพของสมองเพื่อลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่โรคร้ายต่างๆ และเพื่อรักษาประสิทธิภาพการทำงานของระบบในร่างกาย
5 ปัจจัยสำคัญของสมองสุขภาพดีโดย WHO
1.สุขภาพกายที่แข็งแรง
สุขภาพกายสัมพันธ์กับสุขภาพสมองในหลายมิติ แม้แต่สุขภาพกายของผู้เป็นแม่เมื่อตั้งครรภ์ก็ส่งผลต่อสุขภาพสมองของเจ้าตัวน้อยเช่นเดียวกันกับปัจจัยทางพันธุกรรม การดูแลโภชนาการให้ได้รับสารอาหารจำเป็นต่อร่างกายจึงเป็นเรื่องสำคัญ ร่วมกันกับการมีพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายย่อมทำให้สุขภาพสมองดีตามไปด้วย เช่น
- การนอนหลับให้เพียงพอ การนอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน โดยเฉพาะในวัยชรา (59 ปีขึ้นไป) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมถึง 60%
- การนอนที่ไม่เป็นปกติ (นอนสั้นไปหรือยาวไป) มีส่วนสัมพันธ์ต่อโรคหลอดเลือดในสมอง
- พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์จนหมดสติบ่อยครั้งมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อม
- ออกกำลังกายเป็นประจำทุกสัปดาห์ ครั้งละอย่างน้อย 30-60 นาที
2.สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ
การได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพที่ดีเช่นอากาศและน้ำที่สะอาด การเข้าถึงพื้นที่สีเขียว ย่อมช่วยชุบชูคุณภาพชีวิตให้เติบโตได้อย่างสมบูรณ์พร้อม โดยเฉพาะวัยเด็กที่ร่างกายมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยส่งเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายและจิตใจ
- มลภาวะทางอากาศส่งผลต่อโรคหลอดเลือดในสมองในประชากร กว่า 30% ทั่วโลก
3.ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ
ชีวิตที่ได้รับความคุ้มครองย่อมทำให้มนุษย์พัฒนาตัวเองได้เต็มศักยภาพมากกว่า เพราะความปลอดภัยหมายถึงการปราศจากภัยคุกคามทางกายและจิตใจ การได้เติบโตอย่างมั่นคงและมีสวัสดิภาพที่ดีทำให้มนุษย์มีพัฒนาการที่สมบูรณ์พร้อมมากกว่า
- จากการศึกษาพบว่าการเผชิญกับความรุนแรงในวัยเด็กมีผลต่อการควบคุมอารมณ์ในตอนโต รวมทั้งส่งผลต่อการเรียนรู้และการจดจำ
4.สังคมและการเรียนรู้
การมีชีวิตที่ห้อมล้อมไว้ด้วยความรักความใส่ใจช่วยให้คนเราเผชิญหน้าและรับมือกับความเครียดได้ดีมากขึ้นและป้องกันไม่ให้ความเครียดนั้นเพิ่มไปถึงจุดที่เป็น Toxic Stress หรือความเครียดในระดับที่เกินรับไหว ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงลบในสมอง การที่คนเราได้อยู่ในสังคมที่พร้อมรับฟังและช่วยเหลือจะทำให้คนเราผ่านพ้นความลำบากในชีวิตไปได้ดีมากกว่า ในทางกลับกัน การถูกตัดขาดจากสังคมและถูกทิ้งให้โดดเดี่ยวเดียวดายยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กับภาวะสมองเสื่อม
- การใช้เวลาร่วมกันกับคนที่รักหรือคนในครอบครัว เพื่อทำกิจกรรมบริหารสมองอย่างการต่อจิ๊กซอร์ เล่นเกมปริศนา จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทั้งยังเพิ่มความแข็งแรงให้กับสมอง
5.การเข้าถึงบริการสาธารณะสุขที่มีคุณภาพ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อคนเราได้รับบริการทางสาธารณะสุขที่มีคุณภาพในระยะเวลาที่ท่วงทันย่อมส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดทอนความเหลื่อมล้ำและการกีดกันทางสังคมเพื่อให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ท้ายที่สุดแล้วจะช่วยสร้างสังคมคุณภาพที่เติบโตก้าวหน้าด้วยประชากรที่มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงสมบูรณ์
ประกันสุขภาพออมสิน ทางเลือกการออมเพื่อการดูแลตัวเอง
แม้จะดูแลสุขภาพมาอย่างดีแค่ไหน แต่ท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าใครก็ไม่อาจหนีโรคภัยไข้เจ็บได้พ้น สิ่งสำคัญคือการเตรียมการล่วงหน้าและเพิ่มความคุ้มครองให้ตัวเองอีกขั้นด้วยการทำประกันสุขภาพ ออมสินสุดคุ้ม ประกันสุขภาพสุดคุ้มที่มีจุดเด่นเรื่องความคุ้มครองทั้งสุขภาพและอุบัติเหตุด้วยค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในสูงสุด 750,000 บาทต่อปี รวมทั้งคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงสุด 750,000 บาทต่อปี การทำประกันสุขภาพจึงเป็นทางเลือกการออมที่คุ้มถึง 2 ต่อเพราะเป็นการสร้างวินัยการออมเพื่อสำรองเงินฉุกเฉินในยามจำเป็น
ที่มาข้อมูล WHO