เพราะอนาคตเป็นสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาไม่อาจทำนายและไม่อาจควบคุมได้ ทว่าในชีวิตคนวัยทำงานที่มีค่าใช้จ่ายตายตัวอย่างการเสียภาษีย่อมมองหาวิธีที่ช่วยสร้างทางออกใหม่ๆ เพื่ออนาคตทางการเงินที่มั่นคงอย่างยั่งยืนมากกว่า ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ที่เป็นคำตอบหนึ่งของการเริ่มต้นยกระดับความมั่นคงให้กับชีวิต เพราะเป็นการสร้างวินัยทางการออมที่ได้ผลตอบแทนเป็นจำนวนที่แน่นอนตามเวลาที่วางแผนไว้
รายได้เท่านี้ต้องเสียภาษีเท่าไหร่
การจ่ายภาษีเงินได้เป็นหน้าที่ในทันทีที่คนเราก้าวเข้าสู่การเป็นมนุษย์เงินเดือน เพราะเมื่อทำงานจนก่อเกิดเป็นรายได้ไม่ว่าใครก็ต้องจ่ายภาษีเพื่อให้รัฐบาลนำไปพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อได้ ซึ่งรายได้ที่ไม่เท่ากันเช่น เงินเดือน ค่าจ้าง การขายสินค้าและการให้บริการ การประกอบอาชีพอิสระ เป็นต้น ทำให้แต่ละคนเสียภาษีในอัตราที่แตกต่างกันตามอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได
วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ
ซึ่งเมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิมาแล้ว จะต้องจ่ายภาษี ดังนี้
- เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
- เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
อัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได้ เงินได้สุทธิเท่านี้ต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่
- เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาทต่อปี (ขั้นบันได้ 5%) ต้องจ่ายภาษีอัตราร้อยละ 5% โดยจะเสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท
- เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาทต่อปี (ขั้นบันได้ 10%) ต้องจ่ายภาษีอัตราร้อยละ 10% โดยจะเสียภาษีไม่เกิน 27,500 บาท
- เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาทต่อปี (ขั้นบันได้ 15%) ต้องจ่ายภาษีอัตราร้อยละ 15% โดยจะเสียภาษีไม่เกิน 65,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 บาทต่อปี (ขั้นบันได้ 20%) ต้องจ่ายภาษีอัตราร้อยละ 20% โดยจะเสียภาษีไม่เกิน 115,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาทต่อปี (ขั้นบันได้ 25%) ต้องจ่ายภาษีอัตราร้อยละ 25% โดยจะเสียภาษีไม่เกิน 365,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาทต่อปี (ขั้นบันได้ 30%) ต้องจ่ายภาษีอัตราร้อยละ 30% โดยจะเสียภาษีไม่เกิน 1,265,000 บาท
- เงินได้สุทธิมากกว่า 500,00 บาทต่อปี (ขั้นบันได้ 35%) ต้องจ่ายภาษีอัตราร้อยละ 35%
อยากลดหย่อนภาษีทำอย่างไรได้บ้าง
เมื่อมีรายได้ที่มากขึ้นย่อมทำให้ภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปีเพิ่มจำนวนมากขึ้นเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น มีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 50,000 บาท คิดเป็นรายได้ต่อปีอยู่ที่ 600,000 บาท เท่ากับอยู่ในอัตราภาษีขั้นบันได 10% ทำให้ต้องเสียภาษีสูงสุดอยู่ที่ 20,600 บาท นับเป็น 3.43% ของรายได้ทั้งปี หรือเกือบครึ่งหนึ่งของเงินเดือน ด้วยภาระทางภาษีที่เพิ่มขึ้นตามรายได้นี่เอง การลดหย่อนภาษีจึงเป็นทางออกช่วยแบ่งเบามนุษย์เงินเดือน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การลดหย่อนภาษีพื้นฐาน ด้านส่วนตัวและครอบครัว
- ผู้มีเงินได้ หักลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท
- คู่สมรสที่ฝ่ายหนึ่งไม่มีเงินได้ หักลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท
- คู่สมรสที่ต่างฝ่ายมีเงินได้ หักลดหย่อนภาษีรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
- บุตรตามกฎหมายและบุตรบุญธรรม หักค่าลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่อายุ 60 ปีขึ้นไปหักค่าลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ หักค่าลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท
- ค่าฝากครรภ์และทำคลอดบุตร หักค่าลดหย่อนภาษีได้ท้องละ 60,000 บาท
2. การลดหย่อนภาษีจากประกัน เงินออม และการลงทุน
- เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ถูกหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน หักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี
- เบี้ยประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป หักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และเบี้ยประกันบำนาญ (แบบลดหย่อนภาษีได้) ใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกสูงสุด 200,000 บาท และไม่เกิน 15% ของเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษี ซึ่งเงินก้อนนี้เมื่อนำไปรวมกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) รวมกันต้องไม่เกิน 500,000 บาท (รายละเอียดลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบบำนาญ ข้อ 7 และ ข้อ 11)
3. การลดหย่อนภาษีจากการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
- นโยบาลช้อปดีมีคืนเมื่อใช้จ่ายในสินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) / สินค้า OTOP / สินค้าหมวดหนังสือ (รวม E-Book) หักค่าลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30,000 บาท
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย หักค่าลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท
4. การลดหย่อนภาษีจากเงินบริจาค
- การบริจาคทั่วไป หักค่าลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลักหักค่าใช้ต่ายและค่าลดหย่อนอื่น
- การบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคมและโรงพยาบาลรัฐ หักค่าลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาคแต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น
- การบริจาคเพื่อสนับสนุนพรรคการเมือง หักค่าลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10,000 บาท
ทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ช่วยลดหย่อนภาษีดีอย่างไร
ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ คือประกันชีวิตที่ช่วยออมเงินและสร้างความคุ้มครองไปพร้อมกัน นับว่าเป็นการลงทุนที่ได้ประโยชน์กลับคืนทั้งในด้านลดหย่อนภาษีและสร้างกำไรให้กับเงินออม จึงเป็นหนึ่งทางเลือกเพื่อมนุษย์วัยทำงานทุกคนที่ต้องการวางรากฐานชีวิตทางการเงินที่มั่นคงในระยะยาวทั้งเพื่อตัวเองในภายภาคหน้าและเพื่อคนข้างหลังการทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ Happy Sure 10/1 จึงเป็นคำตอบให้แผนลดหย่อนภาษีเงินได้ที่สร้างผลตอบแทนสูงสุดด้วยจุดเด่นมากมายของกรมธรรม์ดังนี้
สิทธิประโยชน์ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ Happy Sure 10/1
- อัตราเบี้ยประกันเท่ากันทุกเพศทุกอายุ
- ชำระเบี้ยเพียงครั้งเดียว คุ้มครองยาวถึง 10 ปี
- คุ้มครองชีวิต 110% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
- มีผลตอบแทนที่ชัดเจนและแน่นอน ตามเวลาที่วางไว้ ไร้ความเสี่ยง
- สร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนเพื่อคนข้างหลัง
- เบี้ยประกันภัยคุ้มครองชีวิตนำมาหักค่าลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
- มีเงินก้อนสำรองไว้เมื่อจำเป็นต้องใช้ในอนาคต
- สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจและไม่ต้องแถลงเกี่ยวกับสุขภาพ
ทั้งนี้ การลงทุนทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์นอกจากจะช่วยลดหย่อนภาษีแล้วยังเป็นการสร้างวินัยทางการออม สำรองเงินก้อนสำคัญเพื่อวันที่จำเป็นในอนาคต และให้ผลตอบแทนที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในอนาคต
ที่มาข้อมูล ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย , สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย , กรมสรรพากร