ทำงานหนักมาหลายสิบปี เผลอแป๊บเดียวก็เข้าสู่ช่วงบั้นปลายของชีวิตที่เราจะได้พักผ่อนบ้างแล้ว เชื่อว่าผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยคงรู้สึกกังวลอยู่ว่า หลังจากนี้ไปจะมีเงินพอใช้ไหมนะ เพราะหาเงินได้ไม่คล่องเหมือนเดิม หรืออาจไม่มีรายรับเข้ามาเลย และหลายคนก็ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าเลยด้วย เงินสำรองในบัญชีจึงมีอยู่ไม่มากนัก
ดังนั้น ถ้าไม่อยากประสบปัญหา “เงินหมด” ก่อนถึงวันสุดท้ายของชีวิตก็อย่าชะล่าใจ เราต้องบริหารจัดการเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในทุกเดือน ซึ่งเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วย 5 เคล็ดลับวางแผนทางการเงินสำหรับผู้สูงวัย ให้ลองนำไปปรับใช้กัน
1. ตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายทั้งหมด
ในวัยสูงอายุเช่นนี้ รายรับที่เข้ามาย่อมไม่แน่นอน สิ่งแรกที่ควรทำก็คือ ต้องตรวจสอบว่ายังมีรายได้จากส่วนไหนเข้ามาบ้าง เช่น เงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ เงินบำนาญจากกองทุนประกันสังคม เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินช่วยเหลือจากสวัสดิการของรัฐ หรือแม้แต่เงินที่ได้จากการลงทุน การขายกองทุนรวม LTF RMF เงินปันผล เงินคืนจากประกันชีวิต เป็นต้น
พอทราบรายรับทั้งหมดแล้ว ทีนี้ก็มารวบรวมข้อมูลรายจ่ายในแต่ละเดือน แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ก็คือ ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเดินทาง แต่บางคนอาจจะมีค่าช้อปปิ้ง ค่าท่องเที่ยว ค่าบำรุงรักษาซ่อมแซมบ้านหรือรถยนต์ ฯลฯ ซึ่งส่วนนี้ล่ะที่ต้องบริหารจัดการให้ดี เพราะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เงินเก็บลดลงเรื่อย ๆ
วิธีง่าย ๆ ก็คือ ให้ตั้งเป้าหมายการใช้จ่ายในแต่ละประเภท พร้อมกับจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายเอาไว้ทุกครั้ง นอกจากจะป้องกันไม่ให้เงินรั่วไหล ยังได้เห็นว่าเราใช้จ่ายกับสิ่งไหนมากเกินไปไหม และสถานการณ์ทางการเงินตอนนี้เป็นอย่างไร ถ้ามีรายจ่ายสูงกว่ารายรับ จะได้หาทางลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นลง เพื่อจัดสรรเงินที่มีอยู่ให้ใช้ได้อย่างเหมาะสมในทุก ๆ เดือน
2.เคลียร์หนี้สินที่มี
เงินเก็บที่มีอยู่อาจไม่พอใช้ถึง 10 ปี 20 ปีข้างหน้าก็เป็นได้ ถ้าวันนี้ยังมีภาระหนี้สินติดตัวอยู่ จึงต้องพยายามปลดหนี้ทุกอย่างให้เร็วที่สุด ยิ่งปลดหนี้ได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งใช้ชีวิตได้สบายขึ้นเร็วเท่านั้น ซึ่งผู้สูงอายุหลายคนได้รับเงินก้อนมาจากเงินบำเหน็จบำนาญ หรือเงินจากการลงทุน ขายกองทุนรวม LTF และ RMF ก็สามารถนำเงินส่วนนี้มาโปะหนี้ได้เลย โดยเลือกเคลียร์หนี้สินที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน เพื่อลดภาระดอกเบี้ย หรือจ่ายหนี้ที่มีมูลหนี้คงเหลือน้อยที่สุดเป็นการปิดบัญชีให้เหลือเจ้าหนี้น้อยราย จะได้มีเงินเหลือไว้สำหรับใช้จ่ายอื่น ๆ
3.ลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยง
ต้องไม่ลืมว่าราคาข้าวของแพงขึ้นทุกวันตามอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น การเก็บเงินไว้เฉย ๆ ไม่นำมาลงทุนอะไรเลย มูลค่าของเงินจะลดลงเรื่อย ๆ จึงควรแบ่งเงินบางส่วนออกมาลงทุน ปล่อยให้เงินทำงานแทนเรา แต่ก็ต้องรู้จักเลือกลงทุนให้เหมาะสมด้วยค่ะ โดยมีคำแนะนำ คือ
จากคำแนะนำข้างต้น เราอาจแบ่งพอร์ตการลงทุนได้ ดังนี้
ทั้งนี้ การจัดพอร์ตต้องขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงที่เรารับได้ด้วยนะคะ หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ ก็ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำในสัดส่วนที่มากขึ้น เช่น เพิ่มสัดส่วนเงินฝากออมทรัพย์เป็นมากกว่า 50% ขึ้นไป เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถรักษาเงินต้นเอาไว้ได้
อย่างไรก็ตาม ข้อสำคัญก็คือ ไม่ว่าจะลงทุนประเภทใด ต้องศึกษาข้อมูลและพิจารณาให้รอบด้านก่อนทุกครั้ง หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน
4.อย่าลืมเรื่องสุขภาพ
เมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกายก็ค่อย ๆ ถดถอยไปตามกาลเวลา คนวัยนี้จึงมีโอกาสเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุได้ง่าย และเดี๋ยวนี้ค่ารักษาพยาบาลก็ไม่ใช่น้อย ๆ หากเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมา อาจถึงขั้นสูญเสียเงินเกือบทั้งหมดที่เก็บออมมาทั้งชีวิตได้เลย
เพื่อไม่ให้ความเจ็บป่วยทั้งหลายเป็นสาเหตุที่ทำให้มีเงินไม่พอใช้ในอนาคต ผู้สูงวัยต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้มากขึ้น ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี จะได้รักษาอาการป่วยตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนโรคลุกลาม รวมทั้งทำประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ติดตัวไว้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย
5.จัดการเรื่องทรัพย์สินมรดก
—————————————————————–